นักกอล์ฟสูงวัยกับภาวะกระดูกพรุน



นักกอล์ฟสูงวัยกับภาวะกระดูกพรุน

        โรคกระดูกพรุนคือ ภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน ส่งผลให้กระดูกบางเสี่ยงต่อการหักได้ง่าย นักกอล์ฟสูงวัยที่มีภาวะกระดูกพรุนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ต้องระมัดระวังกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกข้อมือให้เป็นพิเศษ

        กระดูกจะแข็งแรงและหนาแน่นสูงสุดในช่วงอายุ 30 ปี และมีภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีการทำลายและสร้างใหม่วนเวียนไปตลอด หลังจากเลยอายุ 30 ปีไปแล้วเนื้อกระดูกจะสูญเสียร้อยละ 0.5-1 ต่อไปโดยเฉลี่ย หากร่างกายมีการทำลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกจะทำให้เกิดภาวะกระดูกโปร่ง ส่งผลให้กระดูกสันหลังเกิดการยุบตัวลง ตัวจะเตี้ย หลังโก่ง มีอาการปวดหลังและเสี่ยงต่อกระดูกหักได้ง่าย


        ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

            1. อายุมากขึ้น

            2. กรรมพันธุ์

            3. คนผิวขาวและคนเอเชีย เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าเชื้อชาติอื่น

            4. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน

            5. การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาแฟอีน

            6. ออกกำลังน้อยเกินไป หรือไม่ออกกำลังกายเลย

            7. อาการป่วยด้วยโรคบางประเภทเช่น โรคตับ โรคไต มะเร็ง ไทรอยด์

            8. การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ

        การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน

            1. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและสม่ำเสมอ

            2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่น นม ปลาตัวเล็กทอดกรอบ

            3. ผู้สูงอายุควรทานแคลเซียมให้ได้วันละ 1,000-2,000 มิลลิกรัม

            4. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน และยารักษาโรคบางชนิด

            5. ใช้ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนท เพื่อช่วยยับยั้งการสลายตัวของกระดูก แต่ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์


        นักกอล์ฟสูงวัยที่มีใจรักในกีฬากอล์ฟ ควรดูแลรักษาร่างกายให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ รวมถึงการเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรง และเข้าปรึกษาแพทย์หากเกิดความผิดปกติในร่างกาย  เพื่อตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก เพียงเท่านี้ก็สามารถเล่นกอล์ฟได้อย่างมีความสุข
No comments yet
ความคิดเห็น

คุณอาจชอบ

^