อาการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ
อาการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ (Golf Injuries)
กอล์ฟ เป็นกีฬาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น อิทธิพลจากการถ่ายทอดสดการแข่งขันสำคัญ ๆ ในรายการโทรทัศน์เกือบทุกสัปดาห์ รวมทั้งเงินรางวัลที่เพิ่มขั้น
Superstar ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็เป็นภาพลักษณ์สำหรับเยาวชนที่ต้องการเอาเป็นแบบอย่าง เช่น Tiger Woods , Mitchel Wie ทำให้มีการส่งเสริมการเล่นกอล์ฟ ตั้งแต่เด็ก อายุน้อย ๆ รวมทั้งผู้ที่เริ่มหันมาสนใจเล่นกอล์ฟเมื่ออายุมากขึ้น หรือหลังเกษียณอายุแล้ว
อันตรายหรือการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ ดูเหมือนว่าค่อนข้างปลอดภัย เมื่อเทียบกับการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่ต้องมีการต่อสู้ปะทะกัน หรือการแข่งขันที่มีความเร็วสูง แต่การเล่นกอล์ฟมีอันตรายและการบาดเจ็บที่อาจจะมองข้าม ที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบ้านเรา และรายงานในวารสารต่างประเทศอีกมากมาย เช่น
1. การบาดเจ็บหรืออันตรายที่ไม่ได้มาจากวงสวิงของนักกอล์ฟเอง
- อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากถูกลูกกอล์ฟ , ถูกไม้กอล์ฟตี, ไม้กอล์ฟ
หักทิ่มแทงอวัยวะที่สำคัญ
- ถูกฟ้าผ่าตาย
- ถูกรถกอล์ฟชนตาย
- ถูกผึ่งต่อย เสียชีวิตภายหลัง
- อันตรายเกิดจากแสงแดด จากรายงานพบมะเร็งผิวหนัง จาก
นักกอล์ฟอาชีพหญิง 51 คน นักกอล์ฟหญิงสมัครเล่น 142 คน
นักกอล์ฟอาชีพชาย 4 คน นักกอล์ฟชายสมัครเล่น 11 คน
2. การบาดเจ็บจากการสวิงกอล์ฟ ของนักกอล์ฟมีสาเหตุหลายอย่าง
- มีการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันมากเกิน
- วงสวิงไม่เหมาะสม
- การเตรียมสภาพร่างกายไม่พร้อม ก่อนการเล่นกอล์ฟ
- สุขภาพไม่ดีมาก่อน
- นักกอล์ฟที่เสียชีวิต ขณะเล่นกอล์ฟเป็นลมนำส่งโรงพยาบาลเสียชีวิต หรือเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลายราย
- การได้รับการบาดเจ็บมาก่อน รักษายังไม่หายเป็นปกติ
การบาดเจ็บของนักกอล์ฟอาชีพ
ซึ่งไม่มีปัญหาที่วงสวิงที่ไม่ถูกต้อง มักเกิดจากการฝึกซ้อมหรือแข่งขันมากกินไป
80 % การบาดเจ็บอยู่ที่บริเวณหลัง และข้อมือ ส่วนอื่น ๆ ที่พบรองลงมา คือ ข้อศอกขวา, ไหล่, ข้อเข่า
การบาดเจ็บของนักกอล์ฟสมัครเล่น
ได้รับการบาดเจ็บในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เกือบทั้งหมด ขึ้นอยู่กับวงสวิงที่มีการใช้ส่วนไหนมากเกินไป พบได้บ่อยที่หลัง, ข้อศอก, ข้อมือ, หัวไหล่, ข้อเข่า, คอ ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีการบาดเจ็บที่รุนแรง
- มีรายงานกระดูกสันหลังยุบ ในนักกอล์ฟสตรีสูงอายุ
- นักกอล์ฟที่หัดเล่นใหม่ 18 ราย (เฉลี่ยเล่นกอล์ฟ 8 สัปดาห์) 15 รายพบ
กระดูกซี่โครงหัก 3 รายกระดูกซี่โครงข้างขวาหัก ส่วนใหญ่กระดูกซี่โครงที่ 4, 5, 6 ตำแหน่งที่หักอยู่ตำแหน่งค่อนข้างไปทางด้านหลัง
การป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับผู้อื่น
- เก็บรักษาไม้กอล์ฟในที่ปลอดภัย ไม่ให้เด็กเอามาเหวี่ยงเล่นเองได้
- เมื่อสอนเด็กเล่นกอล์ฟต้องให้ผู้ใหญ่แนะนำและเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย
- เวลายืนต้องเว้นระหว่างจากผู้ที่กำลังสวิงกอล์ฟ อย่างน้อย 4 ช่วงไม้กอล์ฟ
และไม่ล้ำหน้าไปในทิศทางของลูกกอล์ฟ
ปัญหาการบาดเจ็บของนักกอล์ฟ
1. การซ้อมหรือการแข่งขันมากเกิน
2. เคยได้รับการบาดเจ็บมาก่อน ทำให้มีการบาดเจ็บซ้ำ
3. ส่วนใหญ่พบที่หลัง, ข้อมือ, ข้อศอก, ไหล่, เข่า
4. การบาดเจ็บอาจไม่รุนแรง แต่ทำให้เล่นไม่ดี และอาจทำให้มีการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
ข้อแนะนำ :
- ก่อนการซ้อมและแข่งขันทุกครั้ง ต้องทำการอบอุ่นร่างกาย บริหารกล้ามเนื้อให้
ยืดเหยียดได้ดีก่อน
- ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และทนทาน เช่น การวิ่ง, ยกน้ำหนัก
- แก้ไขวงสวิงให้ถูกต้องเพื่อลดการบาดเจ็บ และเล่นกอล์ฟได้ดีขึ้น จำเป็นต้องปรึกษา
ครูสอนกอล์ฟ
- เลือกใช้ไม้กอล์ฟ, รองเท้าให้เหมาะสม
- เมื่อมีการบาดเจ็บควรหยุดเล่น ปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษา
ที่ถูกต้องตั้งแต่แรก
- ก่อนจะกลับมาเล่นใหม่ ควรหายจากการบาดเจ็บและสร้างเสริมกล้ามเนื้อให้
แข็งแรงก่อน
การป้องกันอันตรายระหว่างการเล่นกอล์ฟ
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากแสงแดด, การสูญเสียน้ำ, การบาดเจ็บจากการถูกลูกกอล์ฟ, อันตรายจากสัตว์ในสนามกอล์ฟ หรือจากฟ้าผ่า
ข้อแนะนำ :
- ท่านนักกอล์ฟควรป้องกันอันตรายจากแสงแดด เช่น ทาครีมกันแดด ใส่หมวก
เสื้อแขนยาว
- ดื่มน้ำให้มากพอก่อนและหลังการเล่น และควรดื่มน้ำระหว่างการเล่นไม่ต้องรอ
กระหายน้ำ
- ถ้ามีเหงื่อออกต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมง ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย
- ต้องรู้กฎมารยาทในการเล่นกอล์ฟ ก่อนที่จะสวิงไม้กอล์ฟ ต้องตรวจดูว่ามีผู้ใดยืน
อยู่ใกล้ ๆ จนอาจเกิดอันตรายจากไม้ตีกอล์ฟ รอจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้เล่นกลุ่มหน้าเดินพ้นระยะแล้ว
- นักกอล์ฟไม่ควรจะเข้ามาในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย ต่อสัตว์ แมลงมีพิษ
- เมื่อเกิดอันตรายจากฟ้าผ่าต้องหยุดเล่นกอล์ฟก่อน และรีบออกจากสนามทันที่
กอล์ฟ เป็นกีฬาที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น อิทธิพลจากการถ่ายทอดสดการแข่งขันสำคัญ ๆ ในรายการโทรทัศน์เกือบทุกสัปดาห์ รวมทั้งเงินรางวัลที่เพิ่มขั้น
Superstar ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุน้อย ๆ ก็เป็นภาพลักษณ์สำหรับเยาวชนที่ต้องการเอาเป็นแบบอย่าง เช่น Tiger Woods , Mitchel Wie ทำให้มีการส่งเสริมการเล่นกอล์ฟ ตั้งแต่เด็ก อายุน้อย ๆ รวมทั้งผู้ที่เริ่มหันมาสนใจเล่นกอล์ฟเมื่ออายุมากขึ้น หรือหลังเกษียณอายุแล้ว
อันตรายหรือการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ ดูเหมือนว่าค่อนข้างปลอดภัย เมื่อเทียบกับการเล่นกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่ต้องมีการต่อสู้ปะทะกัน หรือการแข่งขันที่มีความเร็วสูง แต่การเล่นกอล์ฟมีอันตรายและการบาดเจ็บที่อาจจะมองข้าม ที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบ้านเรา และรายงานในวารสารต่างประเทศอีกมากมาย เช่น
1. การบาดเจ็บหรืออันตรายที่ไม่ได้มาจากวงสวิงของนักกอล์ฟเอง
- อุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเกิดจากถูกลูกกอล์ฟ , ถูกไม้กอล์ฟตี, ไม้กอล์ฟ
หักทิ่มแทงอวัยวะที่สำคัญ
- ถูกฟ้าผ่าตาย
- ถูกรถกอล์ฟชนตาย
- ถูกผึ่งต่อย เสียชีวิตภายหลัง
- อันตรายเกิดจากแสงแดด จากรายงานพบมะเร็งผิวหนัง จาก
นักกอล์ฟอาชีพหญิง 51 คน นักกอล์ฟหญิงสมัครเล่น 142 คน
นักกอล์ฟอาชีพชาย 4 คน นักกอล์ฟชายสมัครเล่น 11 คน
2. การบาดเจ็บจากการสวิงกอล์ฟ ของนักกอล์ฟมีสาเหตุหลายอย่าง
- มีการฝึกซ้อมหรือการแข่งขันมากเกิน
- วงสวิงไม่เหมาะสม
- การเตรียมสภาพร่างกายไม่พร้อม ก่อนการเล่นกอล์ฟ
- สุขภาพไม่ดีมาก่อน
- นักกอล์ฟที่เสียชีวิต ขณะเล่นกอล์ฟเป็นลมนำส่งโรงพยาบาลเสียชีวิต หรือเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลายราย
- การได้รับการบาดเจ็บมาก่อน รักษายังไม่หายเป็นปกติ
การบาดเจ็บของนักกอล์ฟอาชีพ
ซึ่งไม่มีปัญหาที่วงสวิงที่ไม่ถูกต้อง มักเกิดจากการฝึกซ้อมหรือแข่งขันมากกินไป
80 % การบาดเจ็บอยู่ที่บริเวณหลัง และข้อมือ ส่วนอื่น ๆ ที่พบรองลงมา คือ ข้อศอกขวา, ไหล่, ข้อเข่า
การบาดเจ็บของนักกอล์ฟสมัครเล่น
ได้รับการบาดเจ็บในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เกือบทั้งหมด ขึ้นอยู่กับวงสวิงที่มีการใช้ส่วนไหนมากเกินไป พบได้บ่อยที่หลัง, ข้อศอก, ข้อมือ, หัวไหล่, ข้อเข่า, คอ ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีการบาดเจ็บที่รุนแรง
- มีรายงานกระดูกสันหลังยุบ ในนักกอล์ฟสตรีสูงอายุ
- นักกอล์ฟที่หัดเล่นใหม่ 18 ราย (เฉลี่ยเล่นกอล์ฟ 8 สัปดาห์) 15 รายพบ
กระดูกซี่โครงหัก 3 รายกระดูกซี่โครงข้างขวาหัก ส่วนใหญ่กระดูกซี่โครงที่ 4, 5, 6 ตำแหน่งที่หักอยู่ตำแหน่งค่อนข้างไปทางด้านหลัง
การป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดกับผู้อื่น
- เก็บรักษาไม้กอล์ฟในที่ปลอดภัย ไม่ให้เด็กเอามาเหวี่ยงเล่นเองได้
- เมื่อสอนเด็กเล่นกอล์ฟต้องให้ผู้ใหญ่แนะนำและเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย
- เวลายืนต้องเว้นระหว่างจากผู้ที่กำลังสวิงกอล์ฟ อย่างน้อย 4 ช่วงไม้กอล์ฟ
และไม่ล้ำหน้าไปในทิศทางของลูกกอล์ฟ
ปัญหาการบาดเจ็บของนักกอล์ฟ
1. การซ้อมหรือการแข่งขันมากเกิน
2. เคยได้รับการบาดเจ็บมาก่อน ทำให้มีการบาดเจ็บซ้ำ
3. ส่วนใหญ่พบที่หลัง, ข้อมือ, ข้อศอก, ไหล่, เข่า
4. การบาดเจ็บอาจไม่รุนแรง แต่ทำให้เล่นไม่ดี และอาจทำให้มีการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น
ข้อแนะนำ :
- ก่อนการซ้อมและแข่งขันทุกครั้ง ต้องทำการอบอุ่นร่างกาย บริหารกล้ามเนื้อให้
ยืดเหยียดได้ดีก่อน
- ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้แข็งแรง และทนทาน เช่น การวิ่ง, ยกน้ำหนัก
- แก้ไขวงสวิงให้ถูกต้องเพื่อลดการบาดเจ็บ และเล่นกอล์ฟได้ดีขึ้น จำเป็นต้องปรึกษา
ครูสอนกอล์ฟ
- เลือกใช้ไม้กอล์ฟ, รองเท้าให้เหมาะสม
- เมื่อมีการบาดเจ็บควรหยุดเล่น ปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และการรักษา
ที่ถูกต้องตั้งแต่แรก
- ก่อนจะกลับมาเล่นใหม่ ควรหายจากการบาดเจ็บและสร้างเสริมกล้ามเนื้อให้
แข็งแรงก่อน
การป้องกันอันตรายระหว่างการเล่นกอล์ฟ
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากแสงแดด, การสูญเสียน้ำ, การบาดเจ็บจากการถูกลูกกอล์ฟ, อันตรายจากสัตว์ในสนามกอล์ฟ หรือจากฟ้าผ่า
ข้อแนะนำ :
- ท่านนักกอล์ฟควรป้องกันอันตรายจากแสงแดด เช่น ทาครีมกันแดด ใส่หมวก
เสื้อแขนยาว
- ดื่มน้ำให้มากพอก่อนและหลังการเล่น และควรดื่มน้ำระหว่างการเล่นไม่ต้องรอ
กระหายน้ำ
- ถ้ามีเหงื่อออกต่อเนื่องเกิน 1 ชั่วโมง ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ร่วมด้วย
- ต้องรู้กฎมารยาทในการเล่นกอล์ฟ ก่อนที่จะสวิงไม้กอล์ฟ ต้องตรวจดูว่ามีผู้ใดยืน
อยู่ใกล้ ๆ จนอาจเกิดอันตรายจากไม้ตีกอล์ฟ รอจนกว่าจะแน่ใจว่าผู้เล่นกลุ่มหน้าเดินพ้นระยะแล้ว
- นักกอล์ฟไม่ควรจะเข้ามาในพื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย ต่อสัตว์ แมลงมีพิษ
- เมื่อเกิดอันตรายจากฟ้าผ่าต้องหยุดเล่นกอล์ฟก่อน และรีบออกจากสนามทันที่